วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปครั้งที่3

ตัวแปรอาร์เรย์ (Array) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตัวแปรชุด เป็นการจองพื้นที่ในหน่วยความ จำให้กับตัวแปร เพื่อให้ตัวแปรนั้นสามารถรับข้อมูลหรือเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1 ค่า โดยค่าแต่ละค่านั้น จะถูกเก็บลงยังพื้นที่ของหน่วยความจำที่แตกต่างกัน พื้นที่ในหน่วยความจำจะใช้หมายเลขลำดับเป็นตัว จำแนกความแตกต่างของค่าตัวแปรแต่ละพื้นที่ด้วยการระบุหมายเลขลำดับที่เรียกว่า ดัชนี (Index) หรือ สับสคริปต์(Subscript) กำกับตามหลังชื่อตัวแปร โดยใช้หมายเลขลำดับตั้งแต่ 0, 1, 2, … เป็นต้นไป

การกำหนดตัวแปรอาร์เรย์ในภาษาจาวาสคริปต์ จะมีความยืดหยุ่นมากในเรื่องของการกำหนดจำนวนสมาชิก ของอาร์เรย์ นั่นคือจำนวนสมาชิกหรือจำนวนพื้นที่ในการจองสำหรับการรับข้อมูลจะถูกกำหนดขนาดให้โดย อัตโนมัติสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกได้ แต่ลดจำนวนลงไม่ได้ และมีสิ่งหนึ่งที่ควรจำก็คือ ยิ่งมีการกำหนด จำนวนสมาชิกหรือการจองพื้นที่ในการรับข้อมูลมากเท่าใด ก็ยิ่งสิ้นเปลืองเนื้อที่ในหน่วยความจำมากเท่านั้น และการทำงานก็จะช้าลงตามไปด้วย การสร้างตัวแปรอาร์เรย์
ก่อนที่จะมีการใช้งานอาร์เรย์นั้นเราจะต้องทำการประกาศตังแปรที่มีลักษณะเป็นอาร์เรย์เสียก่อน เพื่อให้โปรแกรมรู้จักชื่อตัวแปรที่จะกำหนดเป็นอาร์เรย์ พร้อมถึงการกำหนดขนาดของพื้นที่ในหน่วยความ จำสำหรับเก็บค่าของข้อมูล สำหรับรายละเอียดการประกาศตัวแปรอาร์เรย์
มีรูปแบบดังนี้
ชื่อตัวแปรอาร์เรย์ = new Array (จำนวนสมาชิก);โดยมีรายละเอียดดังนี้

จำนวนสมาชิก : หมายถึง การกำหนดการจอง พื้นที่ในหน่วยความจำ ให้กับตัวแปรเพื่อรองรับข้อมูลที่กำหนด โดยปกติจะกำหนดหรือไม่ก็ได้ เพราะอาร์เรย์ ของจาวาสคริปต์มีความยืดหยุ่นมากสำหรับในการรับจำนวนสมาชิก การกำหนดค่าให้กับตัวแปรอาร์เรย์
มีรูปแบบดังนี้
ตัวแปร [Index] = ข้อมูล ;
โดยมีรายละเอียดดังนี้
Index : หมายถึง หมายเลขลำดับของพื้นที่ที่เก็บ ข้อมูลโดยเริ่มนับตั้งแต่ 0,1,2,3,... เป็นต้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น