วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

จากการที่ดิฉันได้ เข้ามาเรียนในวิชา เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ3
ได้ทำให้ดิฉันฝึกตนเองดังนี้

1.ฝึกนิสัยให้คุ้นเคยกับการแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
2.ให้ความสำคัญและเรียนรู้การทำงานเป็นทีม และให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
3.มีการเสริมสร้างทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ
4.ทำให้เกิดความรับผิดชอบ ในหน้าที่การงานมากขึ้นกว่าเดิม
5.ทำให้เกิดการเสริมสร้าง และพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองให้พร้อมที่จะเข้าสู่สังคมมากขึ้น
6.ได้ฝึกลายมือ และเรียนรู้การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
7.ฝึกนิสัยของเราให้มีการเตรียมความพร้อม ที่จะทำงานในวันต่อไป
8.ฝึกให้เราเป็นคนตรงต่อเวลา

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปครั้งที่3

ตัวแปรอาร์เรย์ (Array) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตัวแปรชุด เป็นการจองพื้นที่ในหน่วยความ จำให้กับตัวแปร เพื่อให้ตัวแปรนั้นสามารถรับข้อมูลหรือเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1 ค่า โดยค่าแต่ละค่านั้น จะถูกเก็บลงยังพื้นที่ของหน่วยความจำที่แตกต่างกัน พื้นที่ในหน่วยความจำจะใช้หมายเลขลำดับเป็นตัว จำแนกความแตกต่างของค่าตัวแปรแต่ละพื้นที่ด้วยการระบุหมายเลขลำดับที่เรียกว่า ดัชนี (Index) หรือ สับสคริปต์(Subscript) กำกับตามหลังชื่อตัวแปร โดยใช้หมายเลขลำดับตั้งแต่ 0, 1, 2, … เป็นต้นไป

การกำหนดตัวแปรอาร์เรย์ในภาษาจาวาสคริปต์ จะมีความยืดหยุ่นมากในเรื่องของการกำหนดจำนวนสมาชิก ของอาร์เรย์ นั่นคือจำนวนสมาชิกหรือจำนวนพื้นที่ในการจองสำหรับการรับข้อมูลจะถูกกำหนดขนาดให้โดย อัตโนมัติสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกได้ แต่ลดจำนวนลงไม่ได้ และมีสิ่งหนึ่งที่ควรจำก็คือ ยิ่งมีการกำหนด จำนวนสมาชิกหรือการจองพื้นที่ในการรับข้อมูลมากเท่าใด ก็ยิ่งสิ้นเปลืองเนื้อที่ในหน่วยความจำมากเท่านั้น และการทำงานก็จะช้าลงตามไปด้วย การสร้างตัวแปรอาร์เรย์
ก่อนที่จะมีการใช้งานอาร์เรย์นั้นเราจะต้องทำการประกาศตังแปรที่มีลักษณะเป็นอาร์เรย์เสียก่อน เพื่อให้โปรแกรมรู้จักชื่อตัวแปรที่จะกำหนดเป็นอาร์เรย์ พร้อมถึงการกำหนดขนาดของพื้นที่ในหน่วยความ จำสำหรับเก็บค่าของข้อมูล สำหรับรายละเอียดการประกาศตัวแปรอาร์เรย์
มีรูปแบบดังนี้
ชื่อตัวแปรอาร์เรย์ = new Array (จำนวนสมาชิก);โดยมีรายละเอียดดังนี้

จำนวนสมาชิก : หมายถึง การกำหนดการจอง พื้นที่ในหน่วยความจำ ให้กับตัวแปรเพื่อรองรับข้อมูลที่กำหนด โดยปกติจะกำหนดหรือไม่ก็ได้ เพราะอาร์เรย์ ของจาวาสคริปต์มีความยืดหยุ่นมากสำหรับในการรับจำนวนสมาชิก การกำหนดค่าให้กับตัวแปรอาร์เรย์
มีรูปแบบดังนี้
ตัวแปร [Index] = ข้อมูล ;
โดยมีรายละเอียดดังนี้
Index : หมายถึง หมายเลขลำดับของพื้นที่ที่เก็บ ข้อมูลโดยเริ่มนับตั้งแต่ 0,1,2,3,... เป็นต้นไป

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การบ้าน

#include<stdio.h>
#include<string.h>
void main()
{
struct telephone
{
char brand[20];
char phone_colour[20];
char designed[20];
char mfd[10];
char serial_no[20];
float price;
unsigned long int hight;
unsigned int weight;
};
struct telephone center ;
strcpy(center.brand,"iphone");
strcpy(center.phone_colour,"white");
strcpy(center.designed,"california");
strcpy(center.mfd,"03march09");
strcpy(center.serial_no,"83751m76whb");
center.price=23000.50;
center.hight=11.03;
center.weight=5.5;
printf("*********Telephone*********\n\n");
printf(" Brand:%s\n\n",center.brand);
printf(" Phone_colour:%s\n\n",center.phone_colour);
printf(" Designed: %s\n\n",center.designed);
printf(" MFD : %s\n\n",center.mfd);
printf(" Serial_no : %s\n\n",center.serial_no);
printf(" Price:%d\n\n",center.price);
printf(" Hight : %d cm.\n\n",center.hight);
printf(" Weight : %d km.\n\n",center.weight);
}

สรุปครั้งที่2

โครงสร้างข้อมูล (File Structure) หมายถึง ลักษณะการจัดแบ่งพิกัดต่าง ๆ ของข้อมูลสำหรับแต่ละระเบียน (Record) ในแฟ้มข้อมูลเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับไปประมวลผลได้ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. หน่วยข้อมูล (Data Item) หมายถึงส่วนที่เล็กที่สุดของข้อมูล เช่น ตัวเลข ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ จะยังไม่มีความหมายในตัวเอง เล่น เลข 9 อักษร ก เป็นต้น
2. ฟิลด์ข้อมูล (Data Field) หมายถึง การนำเอาหน่วยข้อมูลที่สำคัญและต้องการศึกษามาไว้ด้วยกัน เพื่อเปรียบเทียบกัน เช่น ชื่อ - สกุล คะแนนการสอบครั้งที่ 1 เงินเดือน ซึ่ง ชื่อ สกุล และเงินเดือน คือ 1 ฟิลด์
3. เรคอร์ดข้อมูล (Data Record) หมายถึง การนำฟิลด์หลายฟิลด์มารวมกลุ่มกัน เช่น นักศึกษาแต่ละคน จะมีข้อมูล ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด อายุ เพศ ข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคนคือ 1 เรคอร์ด

4. แฟ้มข้อมูล (Data File) เกิดจากการนำระเบียนหรือเรคอร์ด หลาย ๆ เรคอร์ดที่เกี่ยวข้องกันในด้านใดด้านหนึ่งมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลของนักเรียนห้องหนึ่งจำนวน 20 คน ทุกคนต่างก็มีข้อมูล คือ ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด อายุ เพศ ศาสนา ข้อมูลของนักเรียนทั้งหมดคือ แฟ้มข้อมูล
5. ฐานข้อมูล (Data base) เกิดจากการนำแฟ้มหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลเข้าด้วยกันโดยที่แฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้มจะมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ก็ตาม ทำให้ข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกัน และสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ




ชื่อ นางสาวปิติกุล อุ่นศิลป์ ชื่อเล่น ปุ๋ย รหัสนักศึกษา 50132792066

Miss. Pitikun Unsil

หลักสูตร บริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

E-MAIL :
u50132792066@gmail.com